โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด   โดย พลตรี.ดร.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์ พบว่าอุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก  มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 30% หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 40,000-50,000 คน เป็นอย่างต่ำที่เป็นผู้ป่วยที่ดื้อยา  ในเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชักอย่างเหมาะสมแล้วอย่างน้อย 2 ตัว  แล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  โดยที่อาจจะยังมีอาการชักอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการประเมินเพื่อหาพยาธิสภาพในสมองที่ผิดปกติ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยจะสามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่   แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน  และในการตรวจเหล่านี้จะต้องมีความละเอียด รอบคอบที่จะตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้วการรักษาโดยการผ่าตัดโดยที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพียงพออาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้  ในการตรวจสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประเมินและการตรวจวินิจัฉยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักโดยตรง ขั้นตอนการตรวจรักษา มีดังต่อไปนี้ 1. การตรวจ X-Ray  คลื่นแม่เหล็กสมองหรือ MRI Brain  ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อดูโครงสร้างของสมอง  เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่เป็นแผลเป็นในสมอง   การตรวจ MRI Brain ในปัจจุบัน มีการนำเครื่อง MRI ที่มีความคมชัดสูง คือ MRI 3 Tesla เข้ามาใช้ทำให้มีการตรวจหาพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้แม่นยำขึ้น  อนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการตรวจ … Continue reading โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด